Page 13 - surat61
P. 13

บทที่ 1                                     ข้อมูลทั่วไปจังหวัดสุราษฎร์ธานี










                                                                   หมายถึง   พระบรมธาตุไชยา เป็นที่บรรจุพระบรม
                                                                               สารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
                                                                               ซึ่งเป็นปูชนียสถานสําคัญที่สุดของจังหวัด

                                                                               เป็นที่เคารพสักการบูชาของชาวจังหวัด

                                                                               สุราษฎร์ธานี และพุทธศาสนิกชนทั่วไป




                    ประวัติเมือง



                          จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเมืองเก่าแก่ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ชนพื้นเมือง ได้แก่ เซมัง
            และมาลายูดั้งเดิม ชนพื้นเมืองเหล่านี้อาศัยอยู่ในเขตลุ่มน้ําหลวง และรอบบริเวณอ่าวบ้านดอน ก่อนที่ชาวอินเดียจะเข้า

            มาตั้งถิ่นฐานเผยแพร่วัฒนธรรม ดังปรากฏหลักฐานในชุมชนโบราณที่อําเภอท่าชนะและอําเภอไชยา มีหลักฐานว่าใน
            พุทธศตวรรษที่ 13 บริเวณนี้เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัย เมื่ออาณาจักรนี้เสื่อมลงราวพุทธศตวรรษที่ 18

            จึงแยกออกเป็น ๓ เมือง คือ เมืองไชยา เมืองท่าทอง และเมืองคีรีรัฐ ขึ้นตรงต่อเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาในสมัยของ
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้ย้ายเมืองท่าทองมาตั้งที่บ้านดอน (ตัวเมืองปัจจุบัน)  และยกฐานะ

            เป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร พระราชทานนามว่า เมืองกาญจนดิษฐ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ

            จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดิน ให้จัดตั้งมณฑลขึ้นโดยได้โปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองไชยา
            กาญจนดิษฐ์  หลังสวน และชุมพร เป็นมณฑล  เรียกว่า มณฑลชุมพร เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๑  และตั้งศาลาว่าการมณฑลที่

            เมืองชุมพร ต่อมาเมื่อปี  พ.ศ.  ๒๔๕๘ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายศาลา

            ว่าการมณฑลชุมพรมาตั้งที่ บ้านดอน พร้อมทั้งพระราชทานนามให้ใหม่ว่า “เมืองสุราษฎร์ธานี”  เนื่องจากพระองค์
            ทรงเห็นว่าราษฎรมีกิริยามารยาทเรียบร้อย ตั้งมั่นในศีลธรรมและหลักพระพุทธศาสนา พร้อมกันนี้ได้พระราชทาน

            เปลี่ยนชื่อ แม่น้ําสายหลักของเมือง ซึ่งราษฎรเรียกว่า แม่น้ําบ้านดอนบ้าง แม่น้ําหลวงบ้าง และแม่น้ําท่าข้ามบ้าง เป็น
            “แม่น้ําตาปี” เนื่องจากแม่น้ํานี้เป็นลุ่มน้ําสายใหญ่  มีน้ําตลอดปี และใหญ่กว่าแม่น้ําสายใดในเขตมณฑลปักษ์ใต้ พื้นที่

            ลุ่มน้ําเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ มีราษฎรตั้งบ้านเรือนประกอบการเพาะปลูกและการค้าขายจํานวนมาก นับได้ว่าเป็น
            แม่น้ําสายสําคัญสายหนึ่งในราชอาณาจักรสยาม จึงได้โปรดเกล้าฯ  พระราชทานนามของแม่น้ําใหม่ให้สอดคล้องกับ

            ข้อเท็จจริงสืบไป
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18