Accessibility Tools

A A A

messenger  facebook  youtube

Google Translate Widget by Infofru

Author Site Reviewresults

พิธีเปิดโครงการเตรียมความพร้อมแก่กำลังแรงงาน แนะแนวอาชีพก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน (กิจกรรมสร้างเครือข่ายการแนะแนวอาชีพ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

วันที่ 12 มกราคม 2566 เวลา 09.00 น.  ณ ห้องประชุมแกรนด์บอลรูม 1 โรงแรมบรรจงบุรี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี

นายบันดาล สถิรชวาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานพิธีเปิดโครงการเตรียมความพร้อมแก่กำลังแรงงาน แนะแนวอาชีพก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน (กิจกรรมสร้างเครือข่ายการแนะแนวอาชีพ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  โดยมีหัวหน้าส่วนราชการกระทรวงแรงงาน และครูแนะแนวจากสถานศึกษาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการ
โครงการดังกล่าวจัดขึ้นโดยสำนักงานจัดหางานจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการแนะแนวอาชีพและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการแนะแนวอาชีพให้แก่ครูแนะแนว สำหรับนำไปปรับใช้ในการแนะแนวอาชีพให้นักเรียน/นักศึกษา ให้สามารถตัดสินใจเลือกอาชีพในอนาคตต่อไป ซึ่งโครงการในครั้งนี้มีกลุ่มเป้าหมายเป็นครูแนะแนวจากสถานศึกษาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 40 คน

อธิบดีกรมการค้าภายใน ลงพื้นที่สุราษฎร์ธานี เร่งแก้ปัญหาการเปิดรับซื้อผลปาล์มน้ำมันจากเกษตรกร หลังโรงสกัดน้ำมันปาล์มหลายแห่งหยุดรับซื้อ  

วันที่ 12 มกราคม 2566  ณ โรงแรมวังใต้ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี

นายวัฒนศักดิ์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน พร้อมด้วย นายอุดม ศรีสมทรง รองอธิบดีกรมการค้าภายใน นายมนตรา พรหมสินธุ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี พาณิชย์จังหวัด 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน นายมานิต วงศ์สุรีย์รัตน์ ผู้แทนนายกสมาคมโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม และตัวแทนจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มใน 5 จังหวัดภาคใต้ได้แก่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงาและตรัง ตลอดจนผู้แทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมหารือแนวทางแก้ไขปัญหาการชะลอรับซื้อผลปาล์มน้ำมันจากเกษตรกร หลังมีหลายพื้นที่โรงงานสกัดไม่สามารถรับซื้อผลปาล์มดิบได้ จากหลายสาเหตุ เนื่องจาก มีผลผลิตปาล์มออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมากและโรงงานบางแห่งมีการปิดซ่อมบำรุงเครื่องจักร

อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า การลงพื้นที่ในครั้งนี้เป็นข้อสั่งการของนายจุรินทร์ ลักษณ์วิศิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้เร่งรัด แก้ไขปัญหาเรื่องการรับซื้อปาล์มน้ำมันให้กับเกษตรกรเพื่อป้องกันไม่ให้ราคาผลผลิตตกต่ำ ซึ่งจากข้อมูลปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันในช่วงเวลานี้ ยังไม่ใช่ช่วงที่มีผลผลิตออกมากที่สุด แต่อาจเป็นผลกระทบระยะสั้นจากการหยุดรับซื้อ ช่วงปิดโรงงานในเทศกาลปีใหม่ ซึ่งเรื่องนี้จะต้องขอความร่วมมือ ให้เกษตรกรชะลอการเก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมัน ออกไปซักระยะ แต่ก็ได้ขอความร่วมมือโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มให้เปิดช่องทางพิเศษในการรับซื้อปาล์มน้ำมันเฉพาะเกษตรกรรายย่อยแยกจากลานเท และเพิ่มกำลังการสกัดน้ำมัน เพื่อเร่งระบายผลปาล์มน้ำมัน ส่วนการปิดซ่อมเครื่องจักร อยากให้มีการแจ้งแผนการซ่อมบำรุง กับสำนักงานพาณิชย์จังหวัด ล่วงหน้าเพื่อ จัดทำเป็นตารางสลับช่วงเวลาซ่อมบำรุงกัน และขอความร่วมมือ โรงงานสกัดน้ำมันที่มีแผงซ่อมบำรุงในช่วงนี้ให้ชะลอออกไปก่อน ซึ่งโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มส่วนใหญ่ต่างตอบรับกับข้อเสนอดังกล่าว

โดยนายกสมาคมโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มกล่าวว่า โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มทุกแห่งไม่มีความตั้งใจที่จะทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำ ซึ่งปกติโรงงานแต่ละแห่งจะมีการแจ้งการปิดซ่อมบำรุงให้กับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดอยู่แล้ว ส่วนการที่เครื่องจักรเสียหายกะทันหัน หากเป็นการซ่อมแซมระยะสั้นก็จะไม่มีการหยุดรับซื้อผลปาล์มจากเกษตรกร

นอกจากนี้ตัวแทนโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มหลายแห่งมีข้อเสนอให้ทางภาครัฐได้แก้ไขปัญหาเรื่องคุณภาพผลปาล์มน้ำมัน โดยอยากให้เร่งรัดเรื่องการออกพระราชบัญญัติปาล์มน้ำมัน เพื่อให้มีกฎหมายกำกับดูแลการเก็บเกี่ยวและจำหน่ายปาล์มน้ำมัน ให้มีคุณภาพมีเปอร์เซ็นต์น้ำมัน อย่างน้อย 18 % ซึ่งเป็นเรื่องที่พยายามแก้ไขกันมาอย่างยาวนาน ช่วงที่มีการกวดขันก็สามารถทำได้ แต่พอนานไปก็กลับมาเป็นแบบเดิม และยังพบว่า บางแห่งมีการรับซื้อปาล์มน้ำมันไม่ได้คุณภาพอยู่ จึงอยากให้แก้ไขเรื่องนี้อย่างจริงจัง ส่วนการสกัดปาล์มน้ำมันในช่วงนี้ ก็ยืนยันว่า เดินเครื่องเต็มกำลังการผลิตแล้ว แต่ยอมรับว่า คาดไม่ถึง ว่าจะมีปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาดมากกว่าปกติ ซึ่งตามสถิติ ช่วงมกราคม จะเป็นช่วงที่มีปริมาณปาล์มออกสู่ตลาดน้อย

การถ่ายทอดสดการประชุมสัมมนาการมอบนโยบายและแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมตาปี ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี ชั้น 4
       

     นายชูศักดิ์  รู้ยิ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมติดตามการถ่ายทอดสดการประชุมสัมมนาการมอบนโยบายและแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ผ่านการประชุมทางไกลผ่านทางจอภาพ (Video Conference) จากห้องรอยัล จูบีลี่ อาคารชาเลนเจอร์ ชั้น 1 ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุม อิมแพค เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดและมอบนโยบายฯ และการบรรยายพิเศษ เรื่อง แนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 โดย นายเฉลิมพล เพ็ญสูตร ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
ทั้งนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบนโยบายและแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ดังนี้
1) น้อมนำแนวทางพระราชดำริ และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2) ให้ความสำคัญกับการดำเนินการ เพื่อยกระดับศักยภาพประเทศในทุกมิติ
3) บริหารรายจ่ายประจำอย่างประหยัด คุ้มค่า มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความจำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบัน
4) ประเมินผลสำเร็จของการดำเนินงาน
5) ส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6) จัดทำงบประมาณให้ครอบคลุมทุกแหล่งเงิน
และให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ในการพัฒนาประเทศระยะยาวที่มุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนา ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่

  1. ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง
  2. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
  3. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
  4. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
  5. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  6. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ



การประชุมหารือร่วมกับผู้ประกอบการโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณภาพปาล์มน้ำมันและสร้างความเป็นธรรมในการซื้อขายให้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน

วันที่ 12 มกราคม 2566 เวลา 10.00 น.  ณ.ห้องประชุมศรีวิชัย A โรงแรมวังใต้ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีจังหวัดสุราษฎร์ธานี

นายมนตรา พรมสินธุ รองผู้ว่าจังหวัดสุราษฎร์ธานีร่วมประชุมหารือร่วมกับผู้ประกอบการโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณภาพปาล์มน้ำมันและสร้างความเป็นธรรมในการซื้อขายให้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน  โดยมีนายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นประธานการประชุม
ในการนี้ที่ประชุมได้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังนี้

  1. ขอให้ผู้ประกอบการโรงงานสกัดฯทุกโรงเปิดรับซื้อผลปาล์มและให้เดินเต็ม capacity ทุกโรงงานก่อนเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ปัจจุบัน (อย่าเพิ่งหยุดซ่อม)
  2. ในช่วงสถานการณ์ปริมาณผลปาล์มออกสู่ตลาดมาก ขอให้จัด fast lane เป็นกรณีพิเศษให้กับเกษตรกรด้วย
  3. ให้ผู้ประกอบการโรงงานสกัดฯทุกโรงงานแจ้งแผนเรื่องหยุดซ่อมประจำปี หรือหยุดเทศกาลต่างๆ และหยุดซ่อมกระทันหัน ล่วงหน้าต่อพาณิชย์จังหวัด เพื่อประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรได้รับทราบ
  4. การรับซื้อผลปาล์มขอให้สะท้อน OER ที่ 18% ตามโครงสร้างราคา และสอดคล้องกับราคา CPO เพื่อพัฒนาให้อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไม่ต่ำกว่า 18%
  5. การบริหารจัดการเรื่องปาล์มคุณภาพทั้งของลานเทและโรงงานสกัดฯ โดยให้พาณิชย์จังหวัดประสานทุกลานเทในพื้นที่เพื่อขึ้นทะเบียนให้ถูกต้อง พร้อมให้รับซื้อปาล์มสุก ไม่รดน้ำและแยกลูกร่วง พร้อมจะทำกฎระเบียบ กติกาการรับซื้อประกาศใช้ในอนาคต เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมทั้งระบบให้ยั่งยืน สำหรับโรงงานสกัดขอให้ซื้อผลปาล์มสุกและผลิต OER ให้ได้ 18%
  6. มอบหมายให้กรอ.มน. กรมศุลกากร และพาณิชย์จังหวัดในแต่ละพื้นที่ติดตามการลักลอบน้ำเข้าน้ำมันปาล์มทั้งทางน้ำและทางบกที่ผิดกฎหมายให้ดำเนินคดีให้ถึงที่สุด

 

Copyright © 2021  www.suratthani.go.th

AChecker accessibility checker compliance: WCAG 2.0 (Level AAA) Valid CSS!