Accessibility Tools

A A A

messenger  facebook  youtube

Google Translate Widget by Infofru

Author Site Reviewresults

ผู้ว่าฯ สุราษฎร์ธานีประชุมคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด ติดตามการบริหารงานด้านการศึกษา

วันที่ 8 สิงหาคม 2565  ณ ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี

นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประชุมคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ครั้งที่ 8/2565 เพื่อมอบนโยบายแนวทางการดำเนินงานและติดตามการบริหารงานด้านการศึกษาในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ก่อให้เกิดประโยชย์สูงสุดต่อการพัฒนาการศึกษาของจังหวัดและประเทศชาติ

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาเรื่องสำคัญ ได้แก่ ผลการคัดเลือกนักเรียนเพื่อรับทุนการศึกษาโครงการทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารี ระยะที่ 2 รุ่นที่ 6 ปีการศึกษา 2565 , การขอ เลิกการจัดการศึกษาโดยครอบครัว , การขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพการศึกษาและประสิทธิภาพการศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยผ่านกลไกของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด , การขอโอนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาไปสังกัดราชการอื่น , การใช้ตำแหน่งว่างเพื่อบรรจุและแต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้เข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย และการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ.2565 เป็นต้น.

ศูนย์ป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ลงพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีเสริมสร้างศักยภาพด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และการบังคับใช้แรงงาน 22 จังหวัดชายทะเล

วันที่ 8 สิงหาคม 2565

นายประเวศ ไทยประยูร รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงแรงงาน และผู้เกี่ยวข้อง ให้เกียรติเข้าร่วมในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน และการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ 22 จังหวัดชายทะเล โดยศูนย์บัญชาการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน กระทรวงแรงงาน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 - 9 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า สุราษฎร์ธานี โดยมีนายวรรณรัตน์ ศรีสุกใส รองปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิด วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย กฎหมาย ระเบียบแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedure : SOP) แผนปฏิบัติการว่าด้วยกลไกกรส่งต่อระดับชาติ และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปขับเคลื่อนการดำเนินงานในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้เข้าร่วมการประชุม ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงแรงงาน ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงแรงงาน และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) รวมจำนวน 40 คน

ด้านนางสาวโสภณา บุญ-หลง หัวหน้าสำนักงานเลขานุการศูนย์บัญชาการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน กล่าวว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการในวันนี้ สืบเนื่องจากกระทรวงแรงานได้จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงาน(Standard Operating Procedure : SOP) การตรวจคัดกรองเบื้องตันเพื่อแสวงหาข้อบ่งชี้สำหรับบุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยได้ว่า อาจเป็นผู้เสียหายจากการแสวงหาประโยชน์ต้านแรงาน แรงงานบังคับ หรือการค้ามนุษย์ด้านแรงงานตามมาตรา 6/1 ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้จัดทำแผนปฏิบัติการว่าด้วยกลไกการส่งต่อระดับชาติ การบริหารจัดการคดีและการช่วยเหลือคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ และการบังคับใช้แรงานหรือบริการ พ.ศ.2565 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการนำ SOP และแผนปฏิบัติการว่าด้วยกลไกการส่งต่อระดับชาติฯ ไปบังคับใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ทำให้สามารถระบุตัวผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน หรือการบังคับใช้แรงงานหรือบริการจากการตรวจเรือประมงที่ท่าเรือได้.

การประชุมหารือจัดนิทรรศการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

วันที่ 8 สิงหาคม 2565 เวลา 13.30 น.  ณ ห้องประชุมนางยวน ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี 

นายศักดาพร รัตนสุภา  รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี  เป็นประธานการประชุมหารือจัดนิทรรศการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีการพิจารณาในประเด็นรูปแบบการจัดนิทรรศการและแนวทางการจัดนิทรรศการของจังหวัด ในหัวข้อ
1) ภาพรวมของนิทรรศการ
2) การจัดเตรียมแบบและข้อมูลจัดนิทรรศการ
3) บุคลากร/เกษตรกรที่ร่วมจัดกิจกรรม ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช
4) กำหนดวิธีการจัดนิทรรศการ
ในการนี้มีนายชัยพร นุภักดิ์  เกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี
นายสนั่น ณ นุวงษ์  ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด
ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวด้วย

ถุงปันสุข แทนความรักจากหัวใจ ส่งมอบ”ไก่และขนมจั้ง” เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนกลุ่มเปราะบาง

วันที่ 7 สิงหาคม 2565  เวลา 07.00 น.

นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดจวนเพื่อแจกจ่าย ถุงปันสุข จำนวน 900 ชุด ให้แก่ประชาชนกลุ่มเปราะบาง จำนวน 21 ราย และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 จำนวน 900 ราย โดยมี นายสุกิจ มีพริ้ง นายอำเภอท่าฉาง พร้อมด้วยนางศรีเวียง มีพริ้ง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุราษฎร์ธานี นายสิทธิชัย ไทยเจริญ นายอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี นายชัยพร นุภักดิ์ เกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายสิทธิพร มั่นชัย ปลัดอาวุโสอำเภอท่าฉาง จิตอาสาพระราชทาน อาสาสมัคร เจ้าหน้าที่สำนักงานจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมแจกจ่ายถุงปันสุขในครั้งนี้ โดยภายในถุงปันสุขประกอบด้วยเครื่องอุปโภคบริโภค ข้าวสาร อาหารแห้ง อาหารสำเร็จรูป น้ำดื่ม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่พี่น้องประชาชน ทั้งนี้ยังมีถุงปันสุขสำหรับเด็ก ที่มากับผู้ปกครองอีกด้วย

สำหรับสัปดาห์นี้ นายสุกิจ มีพริ้ง นายอำเภอท่าฉางได้สนับสนุน ขนมจั้ง จำนวน 500 ชุด และนายสิทธิพร มั่นชัย ปลัดอาวุโสอำเภอท่าฉาง สนับสนุนไก่สดจำนวน 800 ชุด เพื่อมอบให้ประชาชนที่มารับถุงปันสุขนำกลับไปปรุงอาหารและรับประทานตามความชอบแต่ละครัวเรือน

ซึ่งกิจกรรม “ถุงปันสุข” เพื่อประชาชน ที่จัดขึ้นทุกเช้าวันอาทิตย์ ณ จวน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดย นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้สานต่อโครงการตู้ปันสุข แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ที่มีกันทั่วประเทศ แต่ด้วยเหตุผลเพียงเพราะว่าตู้ปันสุข อาจจะกระจายไม่ทั่วถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงมีแนวคิดหากรวมสิ่งของมาแพ็คเป็นชุด และแจกให้ประชาชนสัปดาห์ละครั้ง คาดว่าประชาชนทั้งกลุ่มเปราะบางและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวสามารถบรรเทาความเดือดร้อนได้ จึงเกิดเป็น “ถุงปันสุข” และด้วยจิตศรัทธาจากผู้ใจบุญ รวมไปถึงหัวหน้าส่วน ภาครัฐ ภาคเอกชน ก็พร้อมใจนำสิ่งของและสนับสนุนเงินทุนในการช่วยเหลือมาโดยตลอด

Copyright © 2021  www.suratthani.go.th

AChecker accessibility checker compliance: WCAG 2.0 (Level AAA) Valid CSS!