Accessibility Tools

A A A

messenger  facebook  youtube

Google Translate Widget by Infofru

Author Site Reviewresults

สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โปรดให้นายวิชวุทย์ จินโต เป็นผู้เชิญสิ่งของพระราชทาน ไปมอบให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคในสุกรในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ศาลาประชาคม อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โปรดให้นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นผู้เชิญสิ่งของพระราชทาน ไปมอบให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคในสุกรในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีนายอำเภอในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ เป็นตัวแทนเข้ารับมอบเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ และนำส่งต่อไปยังเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ทั้งนี้ด้วยในหลายพื้นที่ของประเทศไทย เกิดการระบาดของโรคในสุกร ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก และจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้มีการประกาศกำหนดเขตเฝ้าระวังโรค ASF ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2564 ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมา ได้มีการตรวจพบการระบาดของโรค PRRS (Porcine respiratory and reproductive syndrome) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการของโรคในระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจในสุกร ทำให้แม่สุกรแท้ง ลูกตายแรกคลอดสูง ในพื้นที่ 13 อำเภอ ส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรจำนวน 3,534 ราย ในพื้นที่ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุราษฎร์ธานีในปี 2564 ได้รับผลกระทบจำนวน 189 ราย ประกอบด้วย อำเภอกาญจนดิษฐ์ 88 ราย อำเภอดอนสัก 5 ราย อำเภอบ้านนาสาร 8 ราย อำเภอพระแสง 2 ราย อำเภอวิภาวดี 18 ราย อำเภอท่าฉาง 22 ราย อำเภอพุนพิน 13 ราย อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี 4 ราย อำเภอบ้านนาเดิม 9 ราย อำเภอเวียงสระ 2 ราย อำเภอชัยบุรี 6 ราย อำเภอบ้านตาขุน 5 ราย และอำเภอคีรีรัฐนิคม 6 ราย รวมสุกรที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด จำนวน 11,951 ตัว จากการเลี้ยงทั้งหมดจำนวน 227,904 ตัว

และจากปัญหาดังกล่าว สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ได้ทรงห่วงใยพสกนิกร จึงได้พระราชทานสิ่งของพระราชทาน จำนวน 100 ชุด มาช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ยังความปลาบปลื้มและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพัน ที่พระองค์ท่านทรงมีพระเมตตาต่อเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบ.

ผู้ว่าสุราษฎร์ ควง นายกเหล่ากาชาด หั่นจระเข้ และไก่สด ปันสุขประชาชน รับเทศกาลตรุษจีน

วันที่ 30 มกราคม 2565 เวลา 07.30 น. ณ บริเวณหน้าจวนผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี

นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมนางอุรสา จินโต นายกเหล่ากาชาดจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายจักรกฤษ ฝั่งชลจิต นายอำเภอดอนสัก นายอิทธิพล ขวาไทย ประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมทั้งข้าราชการ และจิตอาสา ได้นำสิ่งของตู้ปันสุขผู้ว่าฯสุประกอบด้วย เครื่องอุปโภคบริโภค ข้าวสาร อาหารแห้ง ปลากระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และอาหารแช่แข็ง จำนวน 850 ชุดและของเด็กอีก 120 ชุด ราษฎร์ และถุงปันสุขจาก บริษัท หาดทิพย์ จำกัด มหาชน อีกหนึ่งจำนวน มอบช่วยเหลือประชาชนเพื่อช่วยบรรเทาทุกข์ความเดือดร้อนในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19

ทั้งนี้ การแจกสิ่งของปันสุขในสัปดาห์นี้เป็นที่ฮือฮาเนื่องจากได้นำเนื้อจระเข้ชำแหละ 1 ตัว ไก่สดอีก จำนวน 500 ตัวและชิ้นส่วนไก่ชำแหละอีกจำนวนหนึ่ง นำมาแจกให้กับประชาชนด้วย ซึ่งมีผู้มารับบัตรคิวตั้งแต่เวลา 04.00 น.(ตี 4)เป็นจำนวนมากด้วยสีหน้าที่ยิ้มแย้ม

สำหรับตู้ปันสุขผู้ว่าฯสุราษฎร์ นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินการมาตั้งแต่การระบาดโควิด-19 ระลอกแรก ช่วงต้นปี 2563 โดยตั้งตู้ปันสุขที่ริมถนนหน้าจวนผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้ประชาชนที่เดือดร้อนมารับสิ่งของไปใช้ในครัวเรือน กระทั่งมีประชาชนและผู้ประกอบการ นำสิ่งของและอาหารปรุงสุกมาสมทบมากขึ้นจึงเพิ่มเป็น 2 ตู้และมีการขยายแจกสิ่งของเป็นทุกเช้าวันอาทิตย์ต่อเนื่องเรื่อยมาเป็นเวลาร่วม 2 ปีที่มีตู้ปันสุขเพียงแห่งเดียวที่ยังคงแจกอยู่

พ่อเมืองสุราษฎร์ธานีห่วงใยประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเนื้อหมูและสินค้าราคาแพง เปิดพื้นที่ศูนย์ราชการจัดตลาดนัดชุมชนช่วยลดค่าครองชีพ

วันที่ 28 มกราคม 2565 ณ ตลาดนัดชุมชน บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี

นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี และส่วนราชการที่เกี่ยวไข้อง เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนผู้บริโภค ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และผลกระทบจากราคาเนื้อหมูในท้องตลาดที่ปรับสูงขึ้น

โดยบรรยากาศตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมา หลังเปิดจำหน่ายสินค้า มีประชาชนผู้บริโภคเดินทางมาจับจ่ายเลือกซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเนื้อหมูและไก่สดราคาถูก รวมทั้งสินค้าประเภทอาหารและสินค้าอื่นๆ โดยหมูเนื้อแดงจำหน่ายกิโลกรัมละ 150 บาท หมูสามชั้น 180 บาท ซี่โครงหมูกิโลกรัมละ 100 บาท ขณะที่อกไก่กิโลกรัมละ 80 บาท น่องติดสะโพกกิโลกรมละ 75 บาท รวมทั้งสินค้าอื่นๆ ในราคาย่อมเยาอีกมากมาย อาทิ ผัก ผลไม้ น้ำมันพืช ซอสปรุงรส ไก่เนื้อ ไข่ไก่ ไข่เค็ม กุนเชียง สินค้า OTOP และอาหารสดแช่แข็ง เป็นต้น โดยตลาดนัดแห่งนี้เปิดจำหน่ายทุกเช้าวันศุกร์

นอกจากนี้จังหวัดสุราษฎร์ธานี ยังมีจุดจำหน่ายเนื้อหมูราคาถูก จำนวน 6 จุด ได้แก่ 1.ร้านหมูวิทยา คงหวาน ถนนตลาดใหม่ 2.ร้านเอ-วิน หมูสด ถนนตลาดล่าง 3.ร้านข้าวหอม-ข้าวฟ่าง หมูสด ถนนตลาดล่าง 4.ร้านณีหมูคุณภาพ หมู่ที่ 3 ตำบลมะขามเตี้ย 5.ร้านยกครัว หมู่ที่ 6 ตำบลคลองน้อย อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี และ 6.ร้านวัฒนาฟาร์มฟู๊ด ถนนศรีเวียง อำเภอบ้านนาสาร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนผู้บริโภค ที่ได้รับผลกระทบจากราคาเนื้อหมูในท้องตลาดปรับสูงขึ้น.

 

 

งานวันคล้ายวันสถาปนาหน่วย ครบรอบปีที่ 29 และพิธีทักษิณานุปทาน

วันที่ 28 มกราคม 2565  เวลา 09.30 น. ณ กองบังคับการศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบกที่ 4 ประจำ ภาคพื้นที่ภาคใต้ ค่ายวิภาวดีรังสิต อำเภอเมืองฯสุราษฎร์ธานี

นายสุทธิพงษ์ คล้ายอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาหน่วย ครบรอบปีที่ 29 และพิธีทักษิณานุปทาน เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่บุคลากรของหน่วยผู้ล่วงลับ ตลอดจนเจริญ พระพุทธมนต์ เพื่อความเป็นสิริมงคลให้แก่หน่วยและผู้เข้าร่วมงานอีกด้วย

โดยมีพลโทวิรัตน์ นาคจู ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก เป็นประธานในพิธี ทั้งนี้ ศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบกที่ 4 ประจำ ภาคพื้นที่ภาคใต้ จัดตั้งขึ้นในสมัยของพลเอก วิมล วงศ์วานิช เป็นผู้บัญชาการทหารบก โดยมีพันเอก ชิต พรหมเดช เป็นผู้บังคับหน่วยคนแรก ทำพิธีเปิดอาคารกองบังคับการฯ อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2541

Copyright © 2021  www.suratthani.go.th

AChecker accessibility checker compliance: WCAG 2.0 (Level AAA) Valid CSS!