Accessibility Tools

A A A

messenger  facebook  youtube

Google Translate Widget by Infofru

Author Site Reviewresults

การตรวจติดตามผลการดำเนินการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19)

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 เวลา 10.00 น.

นายนันธวัช เจริญวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตรวจติดตามผลการดำเนินการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ซึ่งได้เน้นย้ำการบริหารจัดการวัคซีน โดยให้เร่งดำเนินการฉีดวัคซีนตามเป้าหมาย และตรวจติดตามผลการเปิดเรียนแบบ On-site ของโรงเรียนในพื้นที่อำเภอชัยบุรี ได้แก่ โรงเรียนวัดสมัยสุวรรณ, โรงเรียนบ้านคลองพังกลาง และโรงเรียนชัยบุรีพิทยา ในการนี้มี นายสุกิจ มีพริ้ง นายอำเภอชัยบุรี, นายไชยา ไชยชนะ สาธารณสุขอำเภอชัยบุรี, ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมในการตรวจติดตามดังกล่าวด้วย

ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

ปิดโรงพยาบาลสนามมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีพร้อมส่งผู้ป่วย 33 คนชุดสุดท้ายกลับบ้าน

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564

นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วย นพ.จิรชาติ เรื่องวัชรินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รก.อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี ร่วมพิธีปิดโรงพยาบาลสนามพร้อมส่งผู้ป่วยชุดสุดท้ายจำนวน 33 คนกลับบ้าน

นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า สืบเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโควิด 19 ทั้งในภาพรวมของประเทศและจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 ได้มีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้สถานพยาบาลหลัก มีเตียงรองรับไม่เพียงพอต่อการให้บริการผู้ป่วยที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น จังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงได้เปิดโรงพยาบาลสนามมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่มีอาการไม่รุนแรง เพื่อให้สถานพยาบาลหลักสามารถให้บริการและรักษาผู้ติดเชื้อ ที่มีความเสี่ยงและมีอาการค่อนข้างรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยโรงพยาบาลสนามมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เปิดดำเนินการในรอบที่สอง เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2564 มีศักยภาพรองรับผู้ป่วยสูงสุดได้จำนวน 600 เตียง ซึ่งตลอดระยะเวลาที่เปิดดำเนินการ 105 วัน ได้ให้บริการผู้ป่วยที่ส่งต่อมาจากโรงพยาบาลต่างๆในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 3,146 ราย เป็นผู้ชาย 1,658 ราย ผู้หญิง 1,488 ราย เป็นเด็ก 242 ราย และผู้ป่วยต่างชาติ 1,032 ราย

ณ โรงพยาบาลสนามมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

a11

ผู้ว่าฯ สุราษฎร์ธานีตรวจเยี่ยมพื้นที่น้ำป่าไหลหลาก เน้นย้ำเฝ้าระวังสถานการณ์ไปจนถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564

นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยนายอุดมศักดิ์ ขาวหนูนา ผอ.ศูนย์ ปภ.เขต11 สุราษฎร์ธานี นายจำนง สวัสดิ์วงศ์ หัวหน้าสำนักงาน ปภ.จ.สุราษฎร์ธานี และผู้เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่สำรวจระบบเฝ้าระวังแจ้งเตือนระดับน้ำล้นตลิ่ง และพื้นที่น้ำกัดเซาะริมตลิ่งแม่น้ำตาปี อำเภอพระแสง โดยได้ตรวจเยี่ยมชมจุดติดตั้งกล้องวงจรปิด CCTV ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อใช้ประโยชน์ในการเฝ้าระวัง แจ้งเตือนภัยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีด้วยกันจำนวน 5 จุด ได้แก่ ตำบลอิปัน อำเภอพระแสง , ตำบลเคียนซา อำเภอเคียนซา , ตำบลหนองจอก อำเภอพุนพิน , ตำบลต้นยวน อำเภอพนม และตำบลท่าขนอน อำเภอคีรีรัฐนิคม โดยผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้กล่าวขอบคุณกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่สนับสนุนการติดตั้งกล้อง CCTV ดังกล่าวให้กับจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเฝ้าระวัง แจ้งเตือนระดับน้ำล้นตลิ่ง จากแม่น้ำลำคลองสายหลักในพื้นที่เสี่ยงภัย

จากนั้นได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมพื้นที่ประสบภัย พร้อมกับมอบสิ่งของถุงยังชีพให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ในท้องที่หมู่ที่ 8 บ้านสระแก้ว ตำบลไทรทอง อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่เกิดฝนตกหนัก ส่งผลให้น้ำป่าไหลหลาก ถนนในหมู่บ้านได้รับความเสียหายถูกกระแสน้ำตัดขาด รวมทั้งพื้นที่การเกษตรมีร่องรอยความเสียหายจากกระแสน้ำป่าที่พัดผ่าน

ในการนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี แจ้งเตือนให้พี่น้องประชาชนเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมฉับพลัน และคลื่นลมแรงในทะเล ไปจนถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน นี้ โดยเน้นย้ำทุกหน่วยงานได้ให้ความสำคัญกับการแจ้งเตือนภัย พร้อมจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด.

ณ บลอิปัน อำเภอพระแสง , ตำบลเคียนซา อำเภอเคียนซา , ตำบลหนองจอก อำเภอพุนพิน , ตำบลต้นยวน อำเภอพนม และตำบลท่าขนอน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

a1

จ.สุราษฎร์ธานี เร่งส่งเสริมวิสาหกิจชุมชุนแปรรูปตำบลท่าเคย อำเภอท่าฉาง เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตและต่อยอดสินค้าเพื่อการาส่งออกสร้างรายการแก่เกษตรกร ภายใต้แนวคิด “วิถีชุมชนคนท่าเคย กะปิท่าเคย ภูมิปัญญาเคยขัดน้ำ”

วันที่ 20 กันยายน 2564

นนายศักดาพร รัตนสุภา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานีและภาคีเครือข่าย ลงพื้นที่ติดตามโครงการค่าใช้จ่ายแปรรูปสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม 1 จังหวัด 1 ชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เพื่อส่งเสริมสร้างองค์ความรู้ ด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตผลทางการเกษตร มาตรฐานผลิตภัณฑ์ การตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ การพัฒนาและยกระดับเกษตรกรไปสู่นักธุรกิจเกษตร รวมทั้งการบริหารจัดการองค์กรสู่ความยั่งยืน

นายศักดาพร รัตนสุภา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ต.ท่าเคย อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎรณ์ธานี เป็นแหล่งผลิตกะปิที่สำคัญของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นวิถีชาวบ้าน ที่สำคัญหลักๆก็คือการทำกะปิ โดยในพื้นที่แห่งนี้นิยมทำกะปิขัดน้ำ ซึ่งเป็นวิถีของชุมชน มีภูมิปัญญาโดดเด่นด้านการผลิตกะปิ หรือที่เรียกว่าเคยขัดน้ำเป็นการนำกะปิ (เคย) โดยนำเคยมาอัดแน่นในขวดโหล ปิดทับด้วยใบไม้แล้วใช้ไม้ไผ่เหลาบางๆ ขัดปิดทับด้านบน หมักทิ้งไว้ประมาณ 3-6 เดือน จะมีน้ำขึ้นมาด้านบน เรียกน้ำเคย มีรสชาติคล้ายน้ำปลา แต่จะหอมและอร่อยกว่า สามารถนำไปปรุงอาหารได้ ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของตำบลท่าเคย รวมถึงการทำประมงพื้นบ้าน สิ่งเหล่านี้ทางจังหวัดได้มอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้นำไปเป็นแนวคิดไปต่อยอดฟื้นฟูเศรษฐกิจให้ชุมชน ด้วยการพัฒนาทักษะความรู้จากสิ่งที่มีอยู่ในชุมชน เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ สร้างรายได้เสริม เพิ่มความมั่งคงให้กับสินค้าประเภทอาหารและขยายช่องทางการตลาด รวมทั้งการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายบูรณาการทำงานในชุมชนร่วมกันให้เกิดเป็นชุมชนที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการพัฒนากะปิด้วยการแปรรูปเป็นกะปิผงและเป็นซอสกะปิ เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้า

นอกจากนั้นผลิตภัณฑ์อื่นๆเช่นน้ำพริก น้ำพริกเผากุ้งเป็นผลิตภัณฑ์จากทะเลเกือบทั้งหมด กุ้งฝอย กุ้งตัวใหญ่ กุ้งหวาน ถ้าพัฒนาในขั้นต่อไป ต้องนำเข้ากระบวนการพัฒนาเชิงคุณภาพ ต้อง มี อย. และส่งต่อของมาตรฐาน มสช.ของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งตรงนี้จะเป็นที่ยอมรับมากขึ้น หากผลิตภัณฑ์เหล่านี้ทำถูกหลักอนามัย ที่มีคุณภาพ และที่สำคัญทางมหาวิทยาลัยราชภัฏมาช่วยเป็นพี่เลี้ยงของกลุ่ม ส่วนการผลิตมีพลังงานจังหวัดในส่วนที่เป็นเตาและตู้อบ ซึ่งจะทำให้กระบวนผลิตมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นและสามารถผลิตได้ครั้งมากๆได้

ด้านนางวัณสุรีย์ สุวรรณรัตน์ ประธานวิสาหกิจชุมชุนแปรรูปตำบลท่าเคย กล่าวว่า วิสาหกิจชุมชุนแปรรูปตำบลท่าเคย ได้มีการรวมกลุ่มชาวบ้านที่ทำกะปิโดยปัจจุบันมีสมาชิก 51 ราย ซึ่งการทำกะปิเคยหรือเคยขัดน้ำนั้น ได้ทำกันมาหลายชั่วอายุคน นับกว่า 200 ปี กะปิที่นี่จะเป็นกะปิที่มีลักษณะมีจุดเด่นเป็นกุ้งที่ได้มาจากปากน้ำท่าเคย กุ้งตัวโตๆ เนื้อเหนียวแน่น ทำกะปิแล้วกะปิก็จะหอมอร่อย เหมาะที่จะเอามาปรุงอาหาร ทำเป็นแกงหรือทำน้ำพริก พื้นที่นี่จะนำกะปิไปใส่ในโอ่งปิดด้วยใบตาลแล้วขัดด้วยไม้ไผ่ ทิ้งไว้นาน ยิ่งนานยิ่งอร่อย ส่วนจะกักน้ำไว้ 5 - 6 เดือน จึงนำมาจำหน่าย เมื่อน้ำในเนื้อกะปิขึ้นมาอยู่ในปากโอ่งหมดแล้ว จากนั้นก็จะคว่ำโอ่งเอาน้ำออก น้ำนั้นคือน้ำเคยเป็นน้ำเคยที่อร่อยมาก เพื่อนำไปปรุงอาหาร และทางวิสาหกิจอยากจะอนุรักษ์กะปิท่าเคยเอาไว้ เพื่อจะเป็นอาชีพของชาวบ้านในละแวกนี้ให้รุ่นสู่รุ่นต่อไป.

ณ ศูนย์การเรียนรู้วิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารตำบลท่าเคย หมู่ที่ 6 ตำบลท่าเคย อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 

Copyright © 2021  www.suratthani.go.th

AChecker accessibility checker compliance: WCAG 2.0 (Level AAA) Valid CSS!