Accessibility Tools

A A A

messenger  facebook  youtube

Google Translate Widget by Infofru

Author Site Reviewresults

รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.)กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ครั้งที่ 2/2567

 

วันที่ 3 เมษายน 2567 เวลา 13.30 น.

นายบันดาล สถิรชวาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.)กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ครั้งที่ 2/2567 พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมตาปี ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานีและห้องประชุมวีดีทัศน์ทางไกล Zoom Meeting ของจังหวัดในกลุ่มจังหวัด
การประชุมในครั้งนี้ ได้พิจารณาดำเนินการความคืบหน้าเรื่องโคเนื้อ/โคขุนศรีวิชัย โดยได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยในพื้นที่กลุ่มจังหวัดฯ ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านโคเนื้อโคขุนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย มาร่วมประชุมเพื่อให้ความคิดเห็นในการขับเคลื่อนโครงการโคเนื้อโคขุนศรีวิชัย และมีการรายงานผลความคืบหน้าเรื่อง ข้อเสนอการใช้ที่ ราชพัสดุ ที่มิได้ใช้ประโยชน์ พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมในการเสนอโครงการเพื่อรองรับการประชุม คณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) และมีข้อเสนออื่น ๆ ที่ต้องการให้มีการขับเคลื่อนและแก้ไขปัญหาในพื้นที่กลุ่มจังหวัด ดังนั้น จึงได้มีการกำหนดประชุมกรอ.กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย เพื่อหารือในประเด็นดังกล่าวข้างต้น

รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมคณะทำงานกลั่นกรองแผนงาน/โครงการ คณะที่ 4 สำหรับรองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ขาญวีรกูล) ครั้งที่ 1/2567

 

วันพุธที่ 3 เมษายน เวลา 10.00 น.

นายบันดาล สถิรชวาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมคณะทำงานกลั่นกรองแผนงาน/โครงการ คณะที่ 4 สำหรับรองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ขาญวีรกูล) ครั้งที่ 1/2567 เขตตรวจราชการที่ 4 (จังหวัดสุราษฎร์ยานี สงขลา) เขตตรวจราชการที่ 13 (จังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา) และเขตตรวจราชการที่ 16 (จังหวัดเชียงราย)ณ ห้องประชุมตาปี ขั้น4 ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี (หลังใหม่)โดยมีนายรังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ เป็นประธานการประชุมคณะทำงานกลั่นกรองแผนงาน/โครงการ คณะที่ 4 สำหรับรองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ขาญวีรกูล) ครั้งที่ 1/2567 เขตตรวจราชการที่ 4 (จังหวัดสุราษฎร์ยานี สงขลา)ที่ห้องประชุม 302 ชั้น 3 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล
ในการนี้ นายเจษฎา จิตรัตน์ ได้มอบหมายเลขให้นายบันดาล สถิรชวาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า เป็นผู้ชี้แจงโครงการของจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่ขอรับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในอำนาจของรองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาหรือวิสัยทัศน์ตามแผนพัฒนาจังหวัด พ.ศ. 2566 - 2570 ไว้ว่า" เมืองเกษตรคุณภาพ การท่องเที่ยวยั่งยืน สังคมเป็นสุข"

ผู้ว่าฯ สุราษฎร์ธานีห่วงใยทุกปัญหา ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี-พุมดวง



วันที่ 3 เมษายน 2567 เวลา 10.00 น.

นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบางงอน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อติดตามความก้าวหน้าการบริหารจัดการน้ำอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตรกรรม จากการดำเนินโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี-พุมดวง ซึ่งประสบปัญหาเกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพลำน้ำ ปัญหาผลกระทบจากการก่อสร้างคลองส่งน้ำ MC1 และปัญหาระยะเวลาก่อสร้างโครงการตามมติ ครม. สิ้นสุดในปี 2564

ซึ่งจากรายงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่า ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพลำน้ำ ทำให้เกิดปัญหาการสูบน้ำในช่วงฤดูแล้ง ระดับน้ำในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ระดับน้ำในแม่น้ำพุมดวงไม่ถึงระดับ +1.50 เมตร (รทก.) ซึ่งเป็นระดับน้ำต่ำสุด ที่สถานีสูบน้ำสามารถดำเนินการสูบได้ สาเหตุเนื่องจากระยะทางจากเขื่อนรัชชประภาถึงสถานีสูบน้ํา ระยะทางประมาณ 38 กิโลเมตร ระหว่างทางมีการใช้ประโยชน์ที่ดินเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยมีการสูบใช้น้ําเพื่อการเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น ทําให้ระดับน้ําในแม่น้ําพุมดวงมีระดับต่ำลงจากที่ทําการศึกษาไว้

ส่วนปัญหาผลกระทบจากการก่อสร้างคลองส่งน้ำ MC1 เนื่องจากมีราษฎรได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างคลองส่งน้ํา MC1 และคลองสายซอย ประสบปัญหาการระบายน้ําในพื้นที่โครงการ การสัญจรข้ามคันคลองส่งน้ําMC1 และทางเชื่อมสวนจํานวนหลายแห่ง ขอให้สํานักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่แก้ปัญหาความเดือดร้อน โดยต้องการให้เพิ่มอาคารประกอบตามแนวคลองส่งน้ํา MC1 ท่อลอดคลองส่งน้ำ จำนวน 33 แห่ง ทางเชื่อมสวนปาล์ม 250 แห่ง สะพานรถยนต์ 9 แห่ง Farm Bridge 17 แห่ง และท่อลอดถนน จำนวน 3 แห่ง

ขณะที่ปัญหาระยะเวลาก่อสร้างโครงการตามมติ ครม. สิ้นสุดในปี 2564 นั้น เนื่องจากตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติขยายระยะเวลาโครงการเป็น ระยะเวลา 13 ปี (พ.ศ.2552-2564) ภายใต้กรอบวงเงินโครงการเดิม แต่การดําเนินงานของโครงการยังไม่แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์ ราษฎรส่วนใหญ่ไม่ต้องการสูญเสียพื้นที่ทำกินเพิ่มเติมในการก่อสร้างคลองระบายน้ําระยะที่2ของโซน MC1 เนื่องจากได้สูญเสียที่ดินจากการก่อสร้างคลองส่งนํ้าไปแล้ว ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการฯ ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหา กรมชลประทานได้ดําเนินงานโดยการปรับเปลี่ยนเป็นโครงการชลประทานขนาดกลาง จำนวน 2 โครงการ คือ โครงการระบบส่งน้ํา MC2 ดำเนินการจัดซื้อที่ดินในเบื้องต้นแล้ว 94% และโครงการระบายน้ำ MC1 ปัจจุบันยังไม่มีการจัดหาที่ดินเพื่อการชลประทาน ซึ่งเมื่อดําเนินการแล้วเสร็จจะเกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่ได้กําหนดไว้ในเบื้องต้น

สำหรับโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี-พุมดวง สืบเนื่องจากพื้นที่บริเวณลุ่มน้ําตาปี-พุมดวง เกิดการขาดแคลนน้ําในช่วงฤดูแล้งและเกิดอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ทําให้การประกอบอาชีพทางการเกษตร มีผลผลิตที่ไม่แน่นอน และค่อนข้างต่ำ เนื่องจากระบบส่งนํ้าเดิมที่มีอยู่เกิดความชํารุดเสียหาย ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ กรมชลประทานจึงเห็นควรก่อสร้างโครงการพัฒนาลุ่มน้ําตาปี-พุมดวง เพื่อบริหารจัดการน้ำให้สามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งคณะรัฐมนตรีอนุมัติเปิดโครงการ เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2552 ระยะเวลา 8 ปี (พ.ศ.2552–2559) วงเงินงบประมาณ 3,330 ล้านบาท ต่อมาได้อนุมัติขยายระยะเวลาโครงการ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2560 รวมระยะเวลาโครงการ 13 ปี (พ.ศ.2552-2564) ซึ่งผลงานสะสมทั้งโครงการอยู่ที่ 75.533 %

ทั้งนี้ผลประโยชน์ที่ได้รับเมื่อโครงการแล้วเสร็จ พื้นที่ชลประทาน 73,980 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอ 12 ตำบล 48 หมู่บ้าน 11,750 ครัวเรือนราษฎร 46,313 คน เป็นแหล่งน้ำสำหรับการอุปโภค บริโภคของราษฎร และสนับสนุนการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง โดยการช่วยส่งน้ำจืดผสมกับน้ำเค็ม รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านปริมาณและคุณภาพน้ำอย่างเต็มที่

 

 

จังหวัดสุราษฎร์ธานีจัดพิธีทอดผ้าป่าสมทบกองทุนพัฒนาเด็กชนบทในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2567

 

วันที่ 3 เมษายน 2567 เวลา 10.00 น. ณ วัดกลางใหม่ อ.เมืองสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี

นายนันธวัช เจริญวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานพิธีทอดผ้าป่าสมทบกองทุนพัฒนาเด็กชนบทในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2567 โดยมีนางพรรณทิพย์ เจริญวรรณ รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายกรองศักดิ์ โอยสวัสดิ์ พัฒนาการจังหวัดสุราษฎร์ธานี หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมในพิธีในครั้งนี้

ตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมพัฒนาชุมชน ได้จัดตั้งกองทุนพัฒนาเด็กชนบทขึ้น เมื่อ ปี 2522 เพื่อเป็นกองทุนช่วยและสนับสนุนการพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนที่ครอบครัวยากจนและด้อยโอกาส ต่อมาในปี 2536 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงรับกองทุนพัฒนาเด็กชนบทไว้ในพระราชูปถัมภ์ โดยพระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ชื่อว่า “กองทุนพัฒนาเด็กชนบท ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี”

ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ได้ช่วยเหลือเด็กที่อยู่ในครัวเรือนยากจนและด้อยโอกาส โดยจัดสรรทุนอุปการะเด็กก่อนวัยเรียนอายุตั้งแต่แรกเกิดถึงหกปี จำนวน 55 ทุนๆ ละ 1,500 บาทเป็นเงิน 82,500 บาท และจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยกองทุนพัฒนาเด็กชนบทจังหวัด ได้พิจารณามอบทุนเพิ่มอีก จำนวน 91 ทุน ทุนละ 1,500 บาท เป็นเงิน 136,500 บาท ซึ่งพิจารณาคัดเลือกจากเด็กในครัวเรือนตกเกณฑ์ จปฐ. ข้อรายได้ ปี 2566 อีกทั้ง ได้ดำเนินการโครงการทอดผ้าป่าสมทบกองทุนพัฒนาเด็กชนบทจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อให้ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมสมทบกองทุนและมอบทุนเด็กด้อยโอกาสในครัวเรือนเปราะบาง (TPMAP) จำนวน 50 ทุนๆ ละ 1,500 บาท เป็นเงิน 75,000 บาท รวมเป็นจำนวนทุนทั้งสิ้น 196 ทุน เป็นเงิน 294,000 บาท

 

Copyright © 2021  www.suratthani.go.th

AChecker accessibility checker compliance: WCAG 2.0 (Level AAA) Valid CSS!