Accessibility Tools

A A A

messenger  facebook  youtube

Google Translate Widget by Infofru

Author Site Reviewresults

รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กระทรวงมหาดไทย ครั้งที่ 1/2567 ร่วมกับส่วนกลาง ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Zoom Cloud Meeting ที่ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี



วันที่ 4 เมษายน 2567 เวลา 14.00 น.

นายบันดาล สถิรชวาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กระทรวงมหาดไทย ครั้งที่ 1/2567 ร่วมกับส่วนกลาง ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Zoom Cloud Meeting ที่ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี
การประชุมดังกล่าว ได้ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ในส่วนของกระทรวงมหาดไทยในห้วงที่ผ่านมา และประชุมหารือร่วมกันในการขับเคลื่อน SDGs ในระยะถัดไป ซึ่งการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ในส่วนของกระทรวงมหาดไทย ภายใต้คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) และจากการประชุมคณะกรรมการ กพย. ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2567 มีมติมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานเจ้าภาพหลัก (Goals) ใน 2 เป้าหมาย ได้แก่ ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่ และทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงและยั่งยืน

รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานการประชุมการดำเนินงานป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดโดยกองทุนแม่ของแผ่นดินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

 

วันที่ 4 เมษายน 2567 เวลา 9.30 น.

นายบันดาล สถิรชวาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานการประชุมการดำเนินงานป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดโดยกองทุนแม่ของแผ่นดินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมเมืองคนดี ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี
กระทรวงมหาดไทย กำหนดดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาโดยภาคประชาชนและภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่ ด้วยการจัดตั้งหมู่บ้านป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยกองทุนแม่ของแผ่นดินตามนโยบายกระทรวงมหาดไทย ให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านที่ยังไม่ได้ดำเนินการ ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยยึดหลักปรัชญาและแนวคิด กองทุนแม่ของแผ่นดิน ที่มุ่งหวังให้ทุกหมู่บ้าน/ชุมชนรู้รักสามัคคี สร้างความสมานฉันท์ในหมู่บ้าน/ชุมชนพึ่งพาความเข้มแข็งของตนเอง ร่วมกันเอาชนะปัญหาอุปสรรคต่างๆ โดย เฉพาะภัยจากยาเสพติดบนพื้นฐานของการให้อภัยทางสังคม ด้วยแนวทางสันติทำให้หมู่บ้าน/ชุมชนและสังคมนั้นๆเป็นสังคมแห่งคุณธรรมอย่างแท้จริง ด้วยการบูรณาการความร่วมมือของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน หน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน และส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มคนสีขาว หรือกลุ่มจิตอาสาที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันให้ลูกหลานห่างไกลจากปัญหายาเสพติด
ปัจจุบันจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน จำนวน 425 หมู่บ้าน 26 ชุมชนและยังคงเหลือหมู่บ้าน/ชุมชน ที่ยังไม่เป็นหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน จำนวน 654 หมู่บ้าน 221 ชุมชน จังหวัดสุราษฎร์ธานีจึงขอความร่วมมือจากภาคประชาชนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ร่วมกันจัดตั้งหมู่บ้านป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยกองทุนแม่ของแผ่นดิน ตามนโนบายกระทรวงมหาดไทย ให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อการเป็นหมู่บ้านต้นกล้ากองทุนแม่ของแผ่นดิน

จังหวัดสุราษฎร์ธานีประชุมคณะกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยจังหวัดสุราษฎร์ธานี ครั้งที่ 2/2567

 

วันที่ 4 เม.ย..67 เวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุมสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด สุราษฏร์ธานี ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี (อาคารหลังเก่า) นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้นายมนตรา พรมสินธุ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมคณะกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยจังหวัดสุราษฎร์ธานี ครั้งที่ 2/2567 เพื่อพิจารณาข้อหารือโครงการสถานีกำจัดเศษอาหารและวัชพืช (ผักตบชวา) โดยการแปรรูปเป็นปุ๋ยหมักอินทรีย์ ของเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี และการให้ความเห็นชอบ ร่าง แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2567 จังหวัดสุราษฎร์ธานี

รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า การบริหารจัดการขยะมูลฝอยให้เป็นไปตามกฎหมาย รวมทั้งการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2567 โดยคณะกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยกระทรวงมหาดไทย ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการจัดการมูลฝอย พ.ศ. 2567 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 มีผลใช้บังคบตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา และให้ยกเลิกประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการจัดการมูลฝอย พ.ศ. 2560 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการจัดการมูลฝอย และเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ได้แจ้งว่าจะดำเนินโครงการสถานีกำจัดเศษอาหารและวัชพืช (ผักตบชวา) โดยการแปรรูปเป็นปุ๋ยหมักอินทรีย์ เพื่อกำจัดและแปรสภาพขยะเศษอาหาร ให้ขยะ และเศษวัชพืช ให้เป็นปุ๋ยหมักอินทรีย์ ซึ่งทางเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ได้ทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกับเอกชนในการดำเนินการโครงการดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อการกำจัดและแปรรูปขยะอินทรีย์ของเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี โดยมีเอกชนเป็นผู้ลงทุนและบริหารจัดการระบบทั้งหมด และกระทรวงมหาดไทยได้จัดทำแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน "จังหวัดสะอาด" ประจำปี พ.ศ. 2567 เพื่อให้ทุกจังหวัดใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยชุมชนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตามเป้าหมายของแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2565-2570) ซึ่งมีกรอบการดำเนินงาน 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการจัดการขยะต้นทาง ด้านการจัดการขยะกลางทาง และด้านการจัดการขยะปลายทาง พร้อมทั้งได้กำหนดเป้าประสงค์ และตัวชี้วัด ในแต่ละด้าน เพื่อให้จังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมู่บ้านและชุมชน ใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการขยะ โดยจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ดำเนินการจัดทำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2566 ตามกรอบแนวทางที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด เพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะ ให้บรรลุเป้าประสงค์ และตัวชี้วัด เพื่อเป็นการกลั่นกรอง สนับสนุนการดำเนินการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2567 ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีต่อไป.

จังหวัดสุราษฎร์ธานีร่วมกับสถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดโครงการพัฒนาศูนย์พักพิงร่วมใจอุ่นไอรัก เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567



วันที่ 4 เมษายน 2567

นายมนตรา พรมสินธุ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาศูนย์พักพิงร่วมใจอุ่นไอรัก ตามหลักอารยเกษตรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยสถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวย้องจัดขึ้น ณ ศูนย์พักพังร่วมใจอุ่นไอรัก ต.มะลวน อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ระหว่างวันที่ 4 - 5 เมษายน 2567 เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีความเข้าใจหลักการบริหารจัดการและแนวทางการปฏิบัติภายในศูนย์พักพิงฯ เมื่อเกิดสาธารณภัยในพื้นที่ ควบคู่ไปกับความมั่นคงทางอาหารด้วยการปลูกผักสวนครัว การสร้างชุมชนสีเขียวด้วยการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน การบริหารจัดการขยะ และสามารถขับเคลื่อนกิจกรรมภายในศูนย์พักพิงชั่วคราวได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเพื่อให้ศูนย์พักพิงร่วมใจอุ่นไอรักเป็นศูนย์การเรียนรู้ภัยพิบัติ และใช้ประโยชน์จากสถานที่ รวมถึงการดำเนินกิจกรรมอื่นๆ ของชุมชนในพื้นที่

นางสาวรำไพ จรรยา ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า ในปี พ.ศ.2563 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อจัดสร้างศูนย์พักพิงชั่วคราวสำหรับผู้ประสบภัยในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเลทางภาคใต้ จำนวนทั้งสิ้น 12 ศูนย์ และทรงพระราชทานชื่อ ว่า "ศูนย์พักพิงร่วมใจอุ่นไอรัก" ดังนั้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาในวันอังคารที่ 28 กรกฎาคม 2567 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดทำโครงการพัฒนาศูนย์พักพิงร่วมใจอุ่นไอรักตามหลักอารยเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้น เป้าหมายผู้เข้าอบรม ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารศูนย์พักพิงฯ ได้แก่ บุคลากรภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชน อาสาสมัคร และจิตอาสาที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ พร้อมกับเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถ บรรยายเรื่อง หลักการบริการจัดการสาธารณภัย หลักการบริหารจัดการศูนย์พักพิงชั่วคราว และฝึกสถานการณ์จำลอง รวมถึงมีการบรรยายเรื่อง ปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ และการบริหารจัดการขยะ

Copyright © 2021  www.suratthani.go.th

AChecker accessibility checker compliance: WCAG 2.0 (Level AAA) Valid CSS!